วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดวงอาทิตย์ประทุ




 ภาพการพ่นมวลโคโรนาที่ยานหอดูดาวโซลาร์ไดนามิกส์บันทึกได้เมื่อ 7 มิ.ย.11 (นาซา)
      นาซาเผยคลิปดวงอาทิตย์ประทุพ่นหมอกอนุภาคคลุมพื้นผิวไปเกือบครึ่งดวง ด้านนักวิทยาศาสตร์แจงเผยผลกระทบรุนแรงสุด แค่รบกวนการสื่อสารวิทยุในช่วงความถี่สูงแถบใกล้ๆ ขั้วโลก และมีโอกาสได้เห็นแสงออโรรา แต่ไม่ส่งผลกระทบรุนแรงโดยตรง 
  


องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เผยภาพและคลิปการประทุบนดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.11 ที่ผ่านมา ซึ่งการประทุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกอนุภาคขนาดใหญ่ปกคลุมไปเกือบผิวหน้าดวงอาทิตย์ โดยรายงานจากเอพีที่อ้างข้อมูลนาซาระบุว่า หมอกอนุภาคมีประจุดังกล่าวประทุออกจากบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ ซึ่งคาดว่ากลุ่มอนุภาคดังกล่าวคงผ่านโลกในช่วงวันที่ 8-9 มิ.ย.นี้ และเป็นเหตุให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กโลกเล็กน้อย
       “การประทุครั้งนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่รุนแรงนัก เป็นสิ่งน่าตื่นเต้นที่ได้เฝ้าดู แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อโลก” ไมเคิล เฮสส์ (Michael Hesse) หัวหน้าห้องปฏิบัติการสภาพอวกาศประจำศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ของนาซาให้ความเห็น
 
       ด้าน โจ กุนเชส (Joe Kunches) นักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์พยากรณ์สภาพอวกาศ (Space Weather Prediction Center) จากสำนักบริการสภาพอากาศสหรัฐฯ (National Weather Service) กล่าวถึงผลกระทบจากหมอกอนุภาคที่ดวงอาทิตย์พ่นออกมาว่า อย่างมากที่สุดอนุภาคเหล่านั้นก็เป็นสาเหตุรบกวนระยะสั้นๆ ต่อการสื่อสารวิทยุด้วยคลื่นความถี่สูง โดยเฉพาะบริเวณใกล้ๆ ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แต่ไม่พุ่งมาทำลายโลกโดยตรง และเป็นไปได้ว่าจะได้เห็นแสงเหนือแสงใต้หรือออโรรา (aurora) ในช่วงวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้
 
       ข้อมูลจากนาซาระบุด้วยว่า เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น ดวงอาทิตย์เกิดการลุกจ้า (flare) ระดับกลาง ก่อพายุสุริยะระดับเล็กๆ และเกิดการพ่นมวลโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) จากจุดมืด ซึ่งยานหอดูดาวโซลาร์ไดนามิกส์ (Solar Dynamics Observatory: SDO) ของนาซาสามารถบันทึกภาพในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ได้ ทั้งนี้ การระเบิดครั้งนี้ค่อนข้างพิเศษเพราะหลายๆ จุดที่เกิดการระเบิดนั้นเป็นบริเวณที่สสารเย็นกว่าบริเวณอื่น (เมื่อเทียบกับอุณหภูมิบนดวงอาทิตย์) โดยอุณหภูมิต่ำกว่า 80,000 เคลวิน
       
       อย่างไรก็ดี เฮสส์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมาดวงอาทิตย์เกิดการลุกจ้ารุนแรงกว่าครั้งนี้ แต่นาซาไม่สามารถบันทึกภาพไว้ได้ เนื่องจากปราฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในอีกด้านของดวงอาทิตย์ที่ไม่ได้หันมายังโลก ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดคิดไว้อยู่แล้วว่าจะเกิดเคลื่อนไหวบนดวงอาทิตย์มากขึ้น เพราะดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่ช่วงที่มีปะทุมากที่สุดในรอบวัฏจักร 11 ปี ซึ่งสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์มีการกลับขั้ว โดยดวงอาทิตย์จะเข้าสู่ช่วงสูงสุด (solar maximum) ในปี 201             









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น